ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ"นุนิจ้า"

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

           ให้นักศึกษา ไปค้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3 โปรแกรม ต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างที่เกิดจากงานโปรแกรมนั้นๆมาด้วย

กลุ่มใช้งานด้านธุรกิจ(Business)
 ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
                ซอฟต์แวร์ประมวลคำมีคุณสมบัติเด่นกว่าการเตรียมเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีดหลายประการอาจจะสรุปได้ดังนี้
(1)สามารถควบคุมสั่งจัดวางรูปแบบเอกสารได้ใหม่ตามต้องการโดยจะพิมพ์ผลลัพธ์ออกมาตามรูปแบบที่กำหนดเช่นการกำหนดจำนวนตัวอักษรในแต่ละบรรทัดการกำหนดตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งบรรทัด เป็นต้น
(2) ช่วยควบคุมให้แก้ไขดัดแปลงข้อความเป็นกลุ่ม คือสามารถสั่งทำการลบ เคลื่อนย้าย หรือสำเนาข้อความเป็นคำประโยคหรือย่อหน้าจากตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งอื่นของเอกสารได้ง่าย
(3) สามารถควบคุมการแสดงตัวอักษรของข้อความ อาจเป็นตัวเข้ม ตัวหนา ตัวเอียงและขีดเส้นใต้ที่ตำแหน่งต่างๆได้อย่างอิสระการพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์จะได้ตัวอักษรสวยงามตามต้องการ
(4) เอกสารที่จัดเตรียมไว้สามารถทำการจัดเก็บลงในแผ่นบันทึก ในรูปของแฟ้มข้อมูล และสามารถเรียกแฟ้มนั้นจากแผ่นบันทึกกลับมาลงหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการแก้ไขข้อความบนจอภาพได้ทันที
(5) มีคำสั่งในการเรียกค้นคำหรือข้อความที่มีอยู่ในเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถแก้ไขดัดแปลงได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นนอกจากการเรียกค้นแล้วยังสามารถสั่งให้มีการแทนที่คำหรือข้อความเดิมด้วยข้อความใหม่ได้ทันทีอย่าง อัตโนมัติ เช่นการเปลี่ยนข้อความจาก “คอมพิวเตอร์” เป็น “ไมโครคอมพิวเตอร์” ในทุกๆแห่งที่พบในเอกสารนั้นเป็นต้น
(6)มีคุณสมบัติให้สามารถทำการเชื่อมแฟ้มข้อความที่อาจเป็นจดหมายกับแฟ้มข้อมูลที่เป็นชื่อหรือที่อยู่บริษัท เพื่อทำการพิมพ์เอกสารลักษณะแบบเดียวกันหลายๆ ชุดพร้อมกัน เช่น การส่งจดหมายเชิญประชุมถึงผู้จัดการบริษัทต่างๆจำนวนมากโดยเนื้อหาของข้อความในจดหมายทุกฉบับเหมือนกันต่างกันที่ชื่อบริษัท ซอฟต์แวร์ประมวลคำจะพิมพ์จดหมายให้เองครบทุกฉบับด้วยการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเท่านั้นลักษณะพิเศษที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปของซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันซอฟต์แวร์ได้มีการพัฒนาให้ทำงานได้มากขึ้นใช้งานได้สะดวกขึ้น
          ซอฟต์แวร์ประมวลคำยุคใหม่ก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆอีกมากคุณลักษณะที่เพิ่มขึ้นได้แก่
(1) การช่วยงานด้านการตรวจสอบตัวสะกดโดยเปรียบเทียบข้อมูลกับพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในรูปของแฟ้มถ้ามีการสะกดผิดก็จะมีคำที่คาดว่าถูกต้องแสดงให้เลือกพิจารณานำมาแทนที่
(2) การแสดงความหมายของคำต่างๆที่มีเก็บในพจนานุกรมเรียบร้อยแล้วและการเลือกคำพ้องความหมายมาแทนที่คำเดิม
(3)การสร้างข้อมูลในรูปแบบตารางได้ง่ายและสะดวก
(4)การนำรูปภาพมาผสมรวมกับข้อมูลที่มีแต่ตัวอักษรโดยจะทำงานอยู่ในภาวะกราฟิกพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพเราสามารถเลือกชุดแบบตัวอักษรได้หลายแบบ
(5)การช่วยงานด้านการตรวจสอบรูปแบบหรือรูปแบบของประโยคซึ่งจะเป็นการตรวจสอบไวยากรณ์ทางภาษาและวิเคราะห์ความน่าอ่านหรือความสละสลวยของเอกสารวิธีการของการตรวจสอบนี้จะใช้หลักวิชาทางปัญญาประดิษฐ์ว่าด้วยกฎและข้อเท็จจริงของภาษาศาสตร์ซึ่งรูปแบบของประโยคที่โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ได้ในปัจจุบัน จะยังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะที่ใช้งานในวงการบริหารธุรกิจเท่านั้นตัวอย่างโปรแกรมประมวลผลคำที่นิยมใช้ใช้ในการสร้างงานเอกสารที่เป็นตัวอักษรและภาพ
บันทึก จดหมาย และแผ่นพับ
จดหมายข่าว คู่มือ และใบปลิว
โปรแกรมที่ใช้
–Microsoft Word      –Corel WordPerfect      –Lotus Word Pro







ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิก
ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เหมือนกระดานหรือสมุดวาดเขียนที่ผู้ใช้สามารถสร้างภาพเขียนได้ และมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการวาดรูป เช่น ปากกาช่วยวาดลายเส้น พู่กันระบายสี และยางลบช่วยลบลายเส้นหรือสีที่ไม่ต้องการได้นอกจากนี้สามารถนำแฟ้มข้อมูลที่เป็นรูปภาพที่ถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปดิจิตอลมาแก้ไขตกแต่งได้โดยซอฟต์แวร์จะมีเครื่องมือที่สามารถปรับเปลี่ยนความเข้มของแสง ปรับเปลี่ยนความแตกต่างของสีวัตถุในภาพ และสามารถตัดแปะองค์ประกอบของภาพหลาย ๆ ภาพ มาสร้างเป็นภาพใหม่ได้เหมือนการสร้างศิลปะนอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนลักษณะของภาพลักษณะของสีให้มีพื้นสีแบบต่าง ๆ ได้ ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกที่เป็นที่นิยม เช่น โปรแกรมโฟโทชอพ (PhotoShop) โปรแกรมเพนท์บรัช(PaintBrush)โปรแกรมเพนท์ชอพ(PaintShop)
ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกบางโปรแกรม  สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นำเข้าสแกนเนอร์  เพื่อจัดการนำเข้าข้อมูล  โดยแปลงข้อมูลรูปภาพให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และจัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลเพื่อนำมาแก้ไขต่อไป
ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้   •Microsoft Paint  •Adobe Photoshop  •Corel PhotoPaint  •Paint Shop Pro 


กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
ซอฟต์แวร์ติดต่อสื่อสาร
เมื่อระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ทำงานและการใช้งานคอมพิวเตอร์ของมนุษย์มากขึ้น และมีบริการหรือการประยุกต์ทำงานหลายๆ อย่างบนระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากซีกโลกหนึ่งสามารถเลือก ค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลในอีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้การติดต่อสื่อสารไม่ว่าในรูปของการส่งข้อความหรือการติดต่อด้วยเสียงก็สามารถทำได้ ความสะดวกสบายเหล่านี้ล้วนแต่ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ทำหน้าที่จัดการทั้งสิ้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในกลุ่มติดต่อสื่อสารที่มีใช้งานเป็นหลักในสังคมปัจจุบันคือซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บ (web browser)

ตัวอย่างการใช้งานซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บสืบค้นสารสนเทศที่เผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถสืบค้น และแสดงสารสนเทศที่นำเสนอในรูปของเว็บเพจ (web page) ได้ โดยที่สารสนเทศดังกล่าวอาจจะเป็นสารสนเทศที่เก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บรรจุซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บหรืออยู่ที่เครื่องแม่ข่าย (web server) ที่ให้บริการเผยแพร่สารสนเทศบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สารสนเทศเหล่านั้นอาจอยู่ในรูปของข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บมีหน้าที่ติดต่อกับระบบเก็บข้อมูลที่เครื่องแม่ข่าย รับคำสั่งจากเครื่องที่ใช้งานอยู่แล้วเรียกดึงข้อมูลที่อยู่ในเครื่องแม่ข่ายมาแสดงผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน และนอกจากนี้ซอฟต์แวร์ชนิดนี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้ถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องแม่ข่ายและลูกข่ายได้ ทั้งการส่งข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่จากเครื่องลูกข่ายไปยังเครื่องแม่ข่ายที่เรยกว่าการบรรจุขึ้น (upload) และการถ่ายโอนข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการจากเครื่องแม่ข่ายมาไว้ในเครื่องลูกข่ายที่เรียกว่าการบรรจุลง (download) และในปัจจุบันผู้ใช้สามารถรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางซอฟต์แวร์ชนิดนี้ได้อีกด้วย
การค้นสารสนเทศโดยใช้ซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บนี้มีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ การสืบค้น (browse) ซึ่งเป็นการเปิดดูเอกสารที่นำเสนออยู่บนเว็บไปเรื่อยๆ โดยเอกสารเหล่านั้นมีการเชื่อมโยง (link) กันอยู่ผู้ใช้สามารถค้นข้อมูลได้โดยการเลือกเปิดดูเอกสารตามการเชื่อมโยงเหล่านั้นและอีกแบบหนึ่งเรียกว่าการค้นหา (search) เป็นการค้นหาสารสนเทศเฉพาะหัวข้อที่ต้องการ การค้นหาต้องใช้ระบบที่เรียกว่าโปรแกรมค้นหา (search engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยในการค้นหาเอกสารหรือบทความที่เกี่ยวข้อกับเรื่องที่ผู้ใช้สนใจโดยใช้คำสำคัญ (keyword) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าสู่ระบบ และระบบจะนำคำสำคัญไปเปรียบเทียบกับคำในเอกสารต่างๆ ที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และแสดงผลการค้นหาแก่ผู้ใช้


ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมค้นหา โดยการป้อนคำสำคัญเมื่อเสร็จสิ้นการค้นหาโปรแกรมจะแสดงผลการค้นหาแก่ผู้ใช้



                 


วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาสังคมศึกษามา1ระบบ
อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป



Input คือ
1.หนังสือเรียน พระพุทธศาสนา ม.4-ม.6
2. ตัวอย่างสื่อประกอบการสอน
3. เอกสารเพิ่มเติมสำหรับครู  


Process คือ
อธิบายการตรัสรู้และการก่อตั้งพระพุทธศาสนาได้
2. วิเคราะห์พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด
3. อธิบายวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าได้
4. อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาได้
5. อธิบายการบริหารและการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาได้
เช่น
ครูนำภาพสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง มาให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า สังเวชนียสถานทั้ง มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอย่างไรบ้าง                 
2. ครูเลือกภาพ มหาโพธิเจดีย์ที่พุทธคยา ซึ่งเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถาน 4 มาให้นักเรียนดูพร้อมทั้งอธิบายให้นักเรียนทราบความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ว่า เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
3. ให้นักเรียนร่วมกันตอบว่า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น เรียกว่าอะไร และประกอบด้วยหลักธรรมข้อไหนบ้าง โดยครูเป็นผู้ช่วยสรุปและอธิบายให้นักเรียนทราบว่า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น คือ สัจธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่เรียกว่าอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
4. ครูนำภาพ เนกขัมมสถูปที่เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นสังเวชนียสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนามาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ ปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรกนั้น มีชื่อว่าอะไร และมีเนื้อหาสำคัญอย่างไร
5. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของหลักธรรมที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดแก่ปัญจวัคคีย์ ซึ่งถือว่าเป็นการประกาศและก่อตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้


Output คือ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ 
เครื่องมือ 
เกณฑ์ 
 ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
 แบบทดสอบก่อนเรียน
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.1
 ใบงานที่ 1.1
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.2
 ใบงานที่ 1.2
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.3
 ใบงานที่ 1.3
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.4
 ใบงานที่ 1.4
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์


 ที่มาพุทธประวัติและชาดก :http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=1411

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ASSIGNMENT2





1.การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System ถ้าเป็น เป็นเพราะ ถ้าไม่เป็นไม่เป็นเพราะ?





กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ


1.กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)
           ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย

2.การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification) :
           น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว

3,การต้ม (Evaporation)
           น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup):

4.การเคี่ยว (Crystallization) :
           น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)

กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้



1.
การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) :
       
             นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2.
การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) :
            น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3.
การเคี่ยว (Crystallization) :
            น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
             แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.
การอบ (Drying) :
              ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย

http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html

      เฉลย
  Input                     process                                                           Output
-โรงงานน้ำตาล           -การสกัดน้ำอ้อย                                           -น้ำตาลทราย
-เครื่องจักร                  -การทำความสะอาดน้ำอ้อย                           -กากน้ำตาลทราย
-วัตถุดิบ                     -การต้มให้ได้น้ำเชื่อม                                    -ชานอ้อย
-แรงงาน                    -การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก
-เงินทุน                     -กากปั่นแยกผลึกน้ำตาล
                                -การอบ
                                -การบรรจุ